ภาวะไข้เฉียบพลัน AFI acute febrile illness

ภาวะไข้เฉียบพลัน AFI Acute Febrile Illness

ภาวะไข้ Fever

จุดเริ่มต้นของการวัดไข้ในคนไม่แน่ชัด แต่หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดคือ 1-2ศตวรรษก่อนคริสต์กาล จนกระทั่งปี 1868 จึงมีการระบุอุณหภูมิคนปกติที่ 37 องศาเซลเซียส คำจำกัดความของไข้ คือ มีอุณหภูมิร่างกายเช้า ที่มากกว่า  37.2 c (98.9 F) และอุณหภูมิช่วงเย็น มากกว่า 37.7 c(99.9 F)

ภาวะไข้เฉียบพลัน Acute Febrile illness

ภาวะไข้เฉียบพลัน Acute Febrile illness หรือ Acute Febrile Syndrome หมายถึงภาวะไข้ รวมถึงอาการร่วม ซึ่งได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว หรือปวดตามข้อ ที่เป็นแบบเฉียบพลัน ภายในช่วง 1-2 สัปดาห์ ที่ยังไม่ระบุสาเหตุ หรือยังหาสาเหตุไม่พบ  ที่เกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์

กึ่งเฉียบพลัน หมายถึง 14-21 วัน

ไข้เรื้อรัง หมายถึงมากกว่า 21 วัน

ภาวะไข้เฉียบพลัน Acute febrile Illness มีได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. ภาวะที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น
    1. เส้นเลือดอุดตัน deep venous thrombosis (DVT)
    2. pulmonary embolism (Pulmonary Thromboembolism PTE)
    3. alcohol or drug withdrawal
    4. post op fever ไข้หลังผ่าตัด
    5. ไข้จากยา drug fever
    6. ก้อนเนื้องอก มะเร็ง Cancer Fever มะเร็งที่มีไข้บ่อยๆคือมะเร็งตับ (HCC Hepatocellular Carcinoma)
    7. ตับแข็ง Liver Cirrhosis
    8. การได้รับเลือด Blood Reaction
    9. ตับอ่อน ถุงน้ำดี หรือลำไส้อักเสบแบบไม่ติดเชื้อ Pancreatitis , Biliary infection , Gastroenteritis or Colitis.
    10. ข้ออักเสบจากเก๊าท์ Gouty Arthritis
    11. เส้นเลือดอุดตันในสมอง เลือดออกในสมอง Stroke , Cerebral Hemorrhages
    12. อื่นๆ เช่น สารหรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเกิดปฏิกิริยา
  2. มีการติดเชื้อในร่างกาย
    1. ติดเชื้อเฉพาะที่ จะมีอาการบ่งถึงการติดเชื้ออวัยวะนั้นๆ เช่น เจ็บคอ ไอ ปวดท้อง ถ่ายเหลว ฯลฯ
      • ไอ อาจมีติดเชื้อในปอด
      • เหนื่อยและมีจุดเลือดออกในเยื่อบุตา ใต้เล็บ (Embolic phenomenon ) เสียงฟู่ที่หัวใจ อาจเป็น การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ Bacterial Endocarditis 
      • ปวดท้อง ถ่ายเหลว หรือไม่เหลว อาจมีติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ ลำไส้ใหญ่ ปวดใต้ชายโครงขวา อาจมีติดเชื้อ หรือฝีที่ตับ หรือมะเร็งที่ตับก็ได้
      • ใต้ผิวหนัง แขน ขา กล้ามเนื้อ อาจมีเส้นเลือดดำอักเสบ หรือกล้ามเนื้ออักเสบ หรือหนองในกล้ามเนื้อ
    2. ติดเชื้อหลายตำแหน่ง
      • ติดเชื้อสแตฟิโลคอคคัสหลายที่ (Disseminated Staphylococcus Infection ) ปอด ข้อ ผิวหนัง สมอง
      • โกโนเรีย หรือหนองในแบบแพร่กระจาย (Disseminated Gonococcosis) ติดเชื้อท่อปัสสาวะ ข้อ ผิวหนัง เยื่อหุ้มตับ
      • เมลิออยโดสิส Mellioidosis เชื้อชนิดหนึ่งที่เจอมากในไทย เป็นหนองหลายๆจุดทั่วร่างกายเช่น ม้าม ตับ ปอด สมอง ข้อ
    3. ติดเชื้อหลายระบบ แต่อาจไม่เจอเชื้อก่อโรค เช่น ไข้ฉี่หนู โรคฉี่หนู(Leptospirosis) ไข้รากสาด (typhoid , scrub typhus , murine typhus) ไวรัสต่างๆที่อาการเป็นแบบทั่วร่างกาย เช่น ไข้เลือดออก (Dengue Fever) หรือไข้ปวดข้อยุงลาย ชิคุนกุนย่า (Chikungunya) เชื้อมาเลเรีย (malaria)
    4. วัณโรค (tuberculosis) ซึ่งอาจเป็นที่ปอด ที่กระดูก หรือที่ต่อมน้ำเหลือง
    5. ฝีในที่ต่างๆ เป็นได้ทุกที่ บางครั้งอาการมีแต่ไข้ เช่นฝีที่ตับ ม้าม ฝีคัณฑสูตร (perianal abscess)

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาพบคนไข้ ที่ต้องระบุ

  • ภาวะภูมิคุ้มกันคนไข้ ถ้ามีเอดส์ เบาหวาน เชื้ออาจต้องดูครอบคลุมกว้างและเจาะจงกว่า
  • ระยะฟักตัวของโรค
  • ถิ่นที่อยู่ และประวัติการเดินทาง
  • พิจารณาตามสถิติ ถิ่นที่อยู่ ช่วงเวลา ประวัติสัมผัสโรค
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

กรุณาสละเวลาโหวตให้กับบทความ ขอบคุณครับ
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (15 votes, average: 4.80 out of 5)

loadingLoading…

เนื้อหาทั้งหมดใน