โรคอ้วนลงพุง กับโรคไต เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคอ้วน หรือ obesity บางท่านอาจงงว่าจะทำให้เกิดปัญหาโรคไตได้อย่างไร เพราะจากที่รู้แพทย์ก็มักบอกว่า จะทำให้เกิดโรคทางเมตาบอลิคอื่นๆเช่นเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูงเสียมากกว่า วันนี้เรามีคำตอบครับ

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตเราเองที่เปลี่ยนไป เช่นการรับประทานอาหารที่มีแป้ง ไขมัน สูง กินอาหารแบบทอด ฟาสต์ฟู๊ดนั่นแหละตัวดี เนื่องจากการใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง ไม่มีเวลาทำอาหารเอง การกินก็มีเวลาจำกัด สังคมแบบเดี่ยวๆ เป็นต้น

เมื่ออ้วน ก็จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่น โรคข้อและกระดูกจากการรับน้ำหนัก เบาหวาน ไขมันสูง ความดันสูง แต่ที่น่าสนใจที่เรามาพูดวันนี้คือ เราพบว่าคนที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน จะมีปัญหาโรคไตมากกว่าคนปกติถึง 2-7 เท่าทีเดียว ทำไมถึงเป็นแบบนั้น

เราพบว่า สาเหตุแรกคือทางอ้อมครับ มันอ้อมมาจากการที่อ้วนทำให้เกิดเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตอยู่แล้ว

อีกปัจจัยคือ คนที่อ้วน จะมีของเสียที่ต้องกรองผ่านไตจำนวนมากกว่าปกติ รวมทั้งไข่ขาวหรืออัลบูมินมีโอกาสรั่วผ่านไตได้มากขึ้น ไตเมื่อทำงานหนักนานๆก็จะเสื่อมเร็ว เป็นไตวายแบบเรื้อรังได้ นอกจากนั้น ความอ้วนยังทำให้ผู้ป่วยที่เกิดโรคไตเฉียบพลัน เป็นหนัก รักษายากกว่าคนปกติ มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่ม และมีแนวโน้มกลายเป็นโรคไตเสื่อมถาวรมากขึ้นด้วยครับ

เอาละครับ ทีนี้เราจะวินิจฉัยโรคอ้วนอย่างไร ก่อนอื่น ปูพื้นก่อนว่า อ้วนมีสองชนิด คืออ้วนทั้งตัว กับอ้วนลงพุง

อ้วนทั้งตัว ไขมันเพิ่มทั้งตัว แน่นอน จะมีการอ้วนลงพุงร่วมด้วย วินิจฉัยโดยการวัดไขมัน โดยเครื่องมือ หรือใช้การคำนวนดัชนีมวลกาย ก็พอจะบอกคร่าวๆได้ ดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI) คือการคำนวณโดยใช้นำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยกำลังสงของส่วนสูงที่เป็นเมตรครับ โดยปกติถ้าเกิน 23-24.9 จะถือว่าท้วม เริ่มอ้วน ถ้า 25-29.9 จะเป็นอ้วนแท้จริง ถ้ามากกว่านี้จะถือว่าอ้วนมากครับ

อ้วนลงพุง ไขมันจับบริเวณพุงและอวัยวะในท้อง มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน วัดโดยวัดรอบพุงครับ ในชายที่เกิน90 ซม. และหญิงที่เกิน 80 ซม. จะถือว่าอ้วนครับ

กรุณาสละเวลาให้คะแนนบทความนี้ครับ
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)

loadingLoading…

เนื้อหาทั้งหมดใน
,