โรคที่มากับน้ำท่วม สุขภาพวันนี้

เนื้อหาโรคที่มากับน้ำท่วมมีคลิปด้วยแล้วครับ
[flowplayer src=”https://hilight.thaihealth.net/storage/2016/09/IMG_0219-360.mp4″ poster=”https://hilight.thaihealth.net/storage/2016/09/IMG_0219_thumb0.jpg”]

1. โรคเท้าเปื่อย น้ำกัดเท้า จากการที่ต้องอยู่ในที่แฉะนานๆเกิดปัญหาน้ำ ที่อาจเน่าเสีย กัดผิวเปื่อย

และแบคทีเรียเข้าไปในผิว หรือเชื้อรา เข้าผิว ก่อให้เกิดอาการ ซอกนิ้ว หรือเท้าเปื่อย หรือที่รู้จักกันดีว่า ฮ่องกงฟู๊ต(hongkong foot)
การป้องกัน : พยายามให้เท้าแห้งเท่าที่จะทำได้ เช็ดเท้า ผึ่งลม และแป้งโรย เวลาลงน้ำใช้บู๊ต
การรักษา ยาทารักษาเชื้อรา โรยแป้ง
2. โรคระบาดแบ่งตาม WHO สองแบบได้แก่

ระบาดทางน้ำ เช่น อหิวาต์ โรคฉี่หนู หรือ leptospirosis โรคไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย ไวรัสตับอักเสบชนิด A ปัญหาที่พบบ่อยของน้ำท่วม คือการหาน้ำสะอาดยาก การที่น้ำแช่ขังนาน เน่าเสีย ก็ติดเชื้อเหล่านี้ได้ครับ
ระบาดทางแมลงหรือสัตว์กัด เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออก
3. แมลงสัตว์มีพิษ เช่นงู ตะขาบ ที่หนีน้ำมา
4. แผลจากการเหยียบของแข็งในน้ำ เกิดแผลติดเชื้อ บาดทะยัก
5. โรคติดเชื้อทางระบบหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบจากการอยู่ท่ามกลางอากาศชื้น หรือสำลักน้ำ หรือเนื่องจากอากาศหนาวเย็น

6. อุบัติเหตุ อื่นๆ เช่น ไฟช๊อต จมน้ำ สัตว์กัด เช่นสุนัข จระเข้กัด

ลิสต์โรคไว้สักหน่อยนะครับ

โรคฉี่หนูleptospirosis
โรคไข้รากสาดน้อย ไทฟอย์ (typhoid)
ไวรัสตับอักเสบ เอ (viral hepatitis A)
ไข้เลือดออก dengue hemorrhagic fever
ไข้มาเลเรีย malaria
บาดทะยัก tetanus
โรคเท้าเปื่อย น้ำกัดเท้า (hongkong foot)
สุนัขกัด
งูพิษกัด
ตะขาบกัด
ปลิงเข้าอวัยวะ
เดี๋ยวจะค่อยๆนะลิงค์มาใส่ให้ครับขอตัวไปเรียบเรียงเนื้อหา

การป้องกันดูแล ในกรณีน้ำท่วม เพื่อป้องกันโรคต่างๆเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือ การเข้าถึงน้ำสะอาด ที่แห้ง และสุขอนามัยที่ดี ได้แก่

ดูแลรักษาสุขภาพตนเอง เรื่องไม่ตากฝนหรือแช่น้ำมากไป รวมถึงการป้องกันละอองน้ำ หรือฝน เวลาเจ็บป่วยใช้ผ้าปิดปากจมูก
ใส่รองเท้ากันเมื่อลงน้ำ และเมื่อขึ้นน้ำมาต้องล้างให้สะอาด และเป่าเท้าให้แห้ง
ล้างมือให้สะอาด และระวังอย่างมาก ห้ามดื่มน้ำที่ท่วม ถ้าไม่แน่ใจต้มก่อน
เมื่อมีแผลให้เลี่ยงการลงน้ำ
กางมุ้ง ระวังเรื่องยุงกัด เพราะนำโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะน้ำนิ่งๆ
ระมัดระวังเรื่องสัตว์มีพิษกัด เรื่องการตกน้ำโดยเฉพาะเด็กๆ และไฟฟ้าโดยเฉพาะถ้ามีปลั๊กที่อยู่ต่ำ
ถ้าเจ็บป่วยให้พบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (7 votes, average: 4.14 out of 5)
loadingLoading…
เนื้อหาทั้งหมดใน