มะเร็งเต้านม ความรู้ทั่วไป

ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม ตอน 1
เดือนตุลาคม เป็นเดือนที่เกี่ยวข้องกับ มะเร็งเต้านม โดยองค์การอนามัยโลก ถือว่า เดือนตค.เป็นเดือนระวังป้องกันมะเร็งเต้านม หรือ breast cancer awareness month ทำไมถึงสำคัญเช่นนั้น? ก็เพราะ ข้อมูลสำคัญคือ 1 ใน 8 ของสตรีในวัยใดวัยหนึ่ง จะเป็นมะเร็งเต้านม!(american cancer society)นั่นคือความสำคัญ วันนี้ ผมจึงนำเสนอข้อมูลเล็กน้อยเพื่อเป็นเกร็ดความรู้ครับ

มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่สุภาพสตรีกลัวกันมาก ทั้งที่จริงๆแล้ว พบว่า โรคที่พบบ่อยและทำให้ถึงแก่ชีวิตในสตรี คือโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งอื่นๆเสียมากกว่า และปัจจุบัน ด้วยเทคนิคที่ก้าวหน้า การวินิจฉัยเร็วขึ้น และการผ่าตัดที่ไม่ต้องเลาะเอาเต้านมออก ทำให้สตรี มีความเสี่ยงลดลง ยิ่งถ้าเราสามารถพบได้เมื่ออายุน้อย ยิ่งดีเท่านั้น
admin_124
อาการและอาการแสดง
ที่สำคัญที่สุด(และพบบ่อยที่สุด ที่ผมต้องให้คำปรึกษา)คือ ก้อนที่เต้านมส่วนมาก ไม่ใช่มะเร็ง และถ้าก้อนนั้นจะสงสัยว่าเป็นมะเร็ง มันมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะมี

  • น้ำ หรือ เลือดไหลออกมาจากหัวนม
  • หัวนมหดไป ไม่เท่ากัน
  • นมโตขึ้น หรือไม่เท่ากัน หรือรูปร่างเปลี่ยน หรือมีผิวบริเวณเหนือก้อนที่เปลี่ยนไป อาจจะมีหยาบ บุ๋ม หรือเป็นขรุขระคล้ายผิวส้ม
  • ภาวะอื่นๆที่ทำให้เกิดก้อน และสับสนกับมะเร็งเต้านมได้แก่

  • ไฟโบรซิสติก หรือเต้านมไม่เรียบ ก้อนที่คลำมักหาขอบเขตไม่เจอ เหมือนกับว่าคลำหมอนที่มีความนุ่มและแข็งไม่เท่ากัน ข้างในเหมือนตะปุ่มตะป่ำ
  • ซิสต์ เป็นถุงน้ำในเต้านม มักเกิดในคนอายุ 35-50ปี จะมีอาการเจ็บก่อนจะเป็นประจำเดือน และหายไป ส่วนใหญ่พอหมดประจำเดือนจะหายไป
  • ไฟโบร อดีโนมา ก้อนนุ่ม ขยับไปมาได้ ในคนอายุวัยเจริญพันธ์ ไม่เจ็บ มักต้องทำการเจาะชิ้นเนื้อมาตรวจ
  • การติดเชื้อที่เต้านม (mastitis)มักเกิดในแม่ที่ให้นมลูก ก้อนบวมร้อนแดงเจ็บมีไข้
  • การได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก มีก้อนช้ำซึ่งเจ็บ อาจมีห้อเลือด ประวัติจะแยกออกจากมะเร็งชัดเจนและมักหายไปเอง
  • สาเหตุ
    เต้านมของทุกคน ประกอบด้วยต่อมเต้านมประมาณ 15-20 พู ส่วนประกอบส่วนใหญ่คือ ไขมัน ประมาณ 80-85% ส่วนน้อยคือต่อมและท่อน้ำนม โดยมีเยื่อที่ห่อหุ้มแต่ละพูคล้ายผลไม้(เช่นส้มโอ)

    เวลาตั้งท้อง ปริมาณต่อมและท่อน้ำนมจะเพิ่มขึ้นทำให้เต้านมคัดเต็มไปด้วยน้ำนม นอกจากนี้ ส่วนประกอบอื่น มีเช่น เส้นเลือด เส้นประสาท และท่อน้ำเหลือง
    ในกรณีมะเร็ง ก็คือมีการเจริญผิดปกติของเซลเหล่านี้โดยควบคุมไม่ได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดยังไม่ชัด แต่ที่แพทย์ส่วนใหญ่ทราบคือ มีกรรมพันธ์ร่วมประมาณ 5-10% โดยเฉพาะความบกพร่องของยีนในโครโมโซม ที่เรียกว่า ยีน BRCA1 และ BRCA2 นอกจากนี้ อาจบกพร่องในยีนที่ควบคุมมะเร็งคือ p53 tumor suppressor gene
    ส่วนใหญ่ความบกพร่องทางกรรมพันธ์จะเกิดเอง แต่มีบ้าง ที่เกิดการมิวเตท หรือกลายพันธ์จากการได้รับรังสีเอกซเรย์ เช่นไดรับรังสีตั้งแต่เด็กๆ หรือสารก่อมะเร็งพวก polycyclic hydrocarbons ในบุหรี่ และเนื้อที่ย่างเกรียม
    ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยง โดยทั่วไปจะเกิดในคนอายุมากกว่า 25 ปี และ80% พบในคนที่อายุมากกว่า 50 เมื่ออายุ 85 ปี ความเสี่ยงของคุณคือ 1 ใน 8
  • ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง ญาติสายตรงที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือรังไข่
  • ประวัติเคยเป็นมะเร็งในข้างหนึ่ง อีกข้างก็จะมีโอกาสเป็นสูงกว่าปกติ เช่นถ้ามีคนหนึ่งเป็น คุณมีโอกาสเสี่ยงเป็นสองเท่าของปกติเลยทีเดียว
  • การได้รับรังสีตั้งแต่เด็ก
  • น้ำหนักเกิน อ้วน
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ๆ การมีเมนส์ในอายุน้อยกว่า 12 การหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ
  • เชื้อชาติ คนผิวขาวมีโอกาสมากกว่า
  • การรักษาด้วยฮอร์โมนในสตรีวัยหมดประจำเดือน
  • การรักษาด้วยยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ไม่มีตอบที่แน่ชัดว่าเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การศึกษาใหม่ ๆ ไม่พบว่า การกินยาคุมมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม(new england journal)
  • สูบบุหรี่ ชัดเจน และถึงแม้คุณจะได้รับควันจากผู้อื่น ก็ยังเสี่ยงด้วย
  • การดื่มสุรามากเกิน มีความเสี่ยงกว่าปกติ 20%
  • การได้รับสารก่อมะเร็ง เช่นเนื้อย่างที่ไหม้
  • การตรวจร่างกาย breast self exam.
    admin_125
    การตรวจโดยใช้การคลำ การศึกษาใหม่ๆ พบว่า การแนะนำให้ตรวจเต้านมโดยคนไข้เองที่เคยกระทำมาในอดีต ไม่ได้ผลเพียงพอในการพบมะเร็งในระยะแรก หลายๆแห่ง แนะนำว่า ควรมีการมาตรวจกับแพทย์ที่ผ่านการฝึก ทุก 3 ปี ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ในคนที่มีประวัติเสี่ยง เช่นมีประวัติครอบครัว แต่เมื่ออายุมากกว่า 40 แนะนำมาตรวจทุกปี
    การตรวจโดยการใช้เอ็กซเรย์ แมมโมแกรม
    ยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ในคนอายุน้อยกว่า 40 แนะนำให้ตรวจทุกปีในช่วงอายุ 40 – 50 ซึ่งอาจทดแทนได้โดยการตรวจโดยใช้การคลำ และ ปีเว้นปีในคนที่มีอายุมากกว่า 50
    การตรวจโดยใช้แมมโมแกรม เต้านมจะต้องโดนบีบโดยแผ่นพลาสติดที่มีฟิล์มสองแผ่น ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที อาจจะเจ็บพอสมควร และถ้าเต้านมอยู่ในช่วงมีประจำเดือน อาจเจ็บมาก
    การตรวจอื่นๆ
    computer aided detection ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจร่วมกับเอ็กซเรย์
    digital mammography
    เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็ก หลายที่ใช้ในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง สามารถพบได้ตั้งแต่ก้อนเล็กๆ แต่อาจมีปัญหาเรื่องผลบวกลวง ทำให้ต้องตัดเต้านมหรือให้การรักษาโดยไม่จำเป็น
    อัลตร้าซาวด์ อาจได้ประโยชน์ในบางคน แต่มีผลบวกลวงมาก
    ตัดชิ้นเนื้อตรวจ อาจตัด หรือใช้เข็มเจาะ เอาเฉพาะน้ำที่ดูดได้ไปตรวจ บางครั้งอาจจะใช้การใส่สายไปทางต่อมเต้านมแล้วล้างเอาน้ำมาตรวจ