โรคฉี่หนู leptospirosis

โรคที่มากับน้ำท่วม หรือหน้าฝนอีกโรค ที่พบบ่อยๆตามทุ่งนา คือ โรคฉี่หนู หรือที่เรียกว่า เล็ปโตสไปโรสิส leptospirosis สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อเล็บโตสไปร่า (Leptospira interogans) เชื้อนี้สามารถพบได้ในสุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง

บิดไม่มีตัว shigellosis โรคที่ทำให้ท้องเสีย

บิดไม่มีตัว หรือบิดชิเกลลา (Shigellosis) บิดชิเกลลา (บิดไม่มีตัว) พบในคนทุกเพศทุกวัย พบเป็นสาเหตุอันดับแรกๆ ของอาการถ่ายท้องเสียเป็นมูกหรือมูกปนเลือด (ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการเป็นบิด จึงมักนึกถึงโรคนี้มากกว่าโรคอื่นๆ) ส่วนมากไม่มีอันตรายร้ายแรง ส่วนน้อยอาจเป็นรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงถึงตายได้ บางครั้งอาจเกิดการระบาดของโรคนี้ และจะพบในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน

กาฬโรค plaque (yersinia pestis)โรค black death

เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าว กาฬโรคระบาดอีกครั้งในจีน ซึ่งน่าตระหนกเพราะโรคนี้ในอดีต เคยคร่าชีวิตคนในยุโรปเป็นล้านภายในไม่กี่วัน กาฬโรค หรือ plaque เกิดจากเชื้อ yersinia pestis แบคทีเรียแกรมลบลักษณะเป็นแท่ง

ไข้อีดำอีแดง scarlet fever

ไข้อีดำอีแดง หลายครั้งที่ไข้ออกผื่นเป็นโรคที่ไม่ค่อยพบบ่อย ไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever ก็เช่นกัน ข้อมูลจากthaihealth encyclopedia อีดำอีแดง (Scarlet fever) อีดำอีแดง (ไข้อีดำอีแดง ก็เรียก) เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็เคยพบการระบาดของโรคนี้ในกลุ่มเด็กนักเรียนเป็นครั้งคราว โรคนี้เกิดจากเชื้อบีตาสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (beta streptococcus group A) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกันกับที่ทำให้เกิดทอนซิลอักเสบ ดังนั้นจึงมีอาการโรคแทรกซ้อน และการรักษาเช่นเดียวกับทอนซิลอักเสบ สาเหตุ…

โรคคอตีบ diphtheria

โรคคอตีบ หรือดิพทีเรีย ปัจจุบันนี้พบน้อยลงมากเพราะมีการฉีดวัคซีนให้กับเด็กทุกคน เรามารู้จักกับมันหน่อยดีกว่า ข้อมูลจากเอนไซโคลปีเดีย คอตีบ/ดิฟทีเรีย (Diphtheria) โรคคอตีบ หรือดิฟทีเรีย (Diphtheria) เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและร้ายแรง พบได้ประปรายตลอดปี บางครั้งอาจพบระบาด ซึ่งมักเกิดในฤดูหนาวส่วนมากจะพบในเด็กอายุ 1-10 ปี